google-site-verification=aPYXUFf6dgtDNZKs37N4-quXFOXT8MNbg_1oxKLZr0Y

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิธีฝึกลูกกินนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวด ติดเต้ามาก ทำอย่างไรดี
ลูกไม่ยอมดูดขวด ติดเต้ามาก ไม่เอาขวดเลย เป็นอีกหนึ่งปัญหา ที่คุณแม่ให้นมต้องเจอ โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป วันนี้เรามีวิธีช่วยให้ลูกยอมกินนมแม่จากขวดมาฝาก

วิธีฝึกลูกกินนมแม่จากขวด

  1. เริ่มต้นด้วยการป้อนนมลูกก่อนที่จะถึงเวลาที่เคยดูดนมแม่ประมาณ 15 นาที หรือตอนที่ลูกใกล้จะตื่น ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้จากการขยับตัว ขยับปากจุ๊บ ๆ จั๊บ ๆ เหมือนจะตื่น ที่สำคัญ ไม่ควรให้ลูกดูดนมแม่จากขวดตอนที่ลูกร้องไห้หิวนม เพราะจะทำให้เด็กมีอาการหงุดหงิด โมโห จนไม่ยอมกินนมแม่ที่อยู่ในขวด และจะร้องหานมแม่จากเต้าเพียงอย่างเดียว
  2. ลองให้คนอื่นเป็นคนป้อน ซึ่งในระหว่างนี้ คุณแม่ควรหลบอยู่ห่าง ๆ ไม่ต้องคอยยืนลุ้นใกล้ ๆ นะครับ เพราะถ้าคุณแม่ยืนอยู่ใกล้ ๆ แม้ว่าลูกจะมองไม่เห็น แต่ลูกจะได้กลิ่นแม่ และไม่ยอมกินนมจากขวดได้
  3. ช่วงที่ลองให้คนอื่นเป็นคนป้อน ควรเปลี่ยนท่าอุ้มป้อนนม ที่ไม่เหมือนท่าที่คุณแม่เคยอุ้มให้นมอยู่ เป็นประจำ เพราะเด็กบางคนจะจำ และเรียนรู้ได้ว่า ถ้าถูกอุ้มท่านี้ จะต้องได้ดูดนมจากอกของคุณแม่ โดยอาจจะเปลี่ยนมาให้เด็กนอนในเปล หรือวางนอนในขณะที่ป้อนนมแม่จากขวดแทน
  4. เด็กบางคนอาจจะชอบให้มีการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ ดังนั้นจึงอาจจะลองนั่งเก้าอี้โยก หรือแก่งชิงช้าขณะที่ป้อนนมลูก ซึ่งก็อาจจะทำให้ทารกยอมกินนมจากขวดได้ง่าย
  5. ลองเปลี่ยนจุกนมหลาย ๆ แบบ เลือกจุกนมที่นิ่ม ๆ และมีความยืดหยุ่นมาก ๆ ยิ่งคล้ายหัวนมแม่ ลูกก็จะยิ่งดูดจากขวดได้ง่ายขึ้น
  6. ไม่ควรใช้จุกนมที่เย็นเกินไป หากเพิ่งเอาออกมาจากตู้เย็น ควรแช่น้ำอุ่นก่อน
  7. ในช่วงแรกที่ฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด ลูกอาจจะยังกินได้ไม่มาก ให้ใช้ความอดทน ค่อย ๆ ลองป้อนไปทุกวัน ลูกก็จะเริ่มชิน และดูดนมได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก ๆ ของการฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด แทนการดูดจากเต้า ทารกอาจจะมีอาการงอแง ต่อต้าน ไม่ยอมดูดขวด สิ่งสำคัญคือความอดทนจากคนช่วยป้อน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกเจ้าตัวน้อยหลายวันกว่าทารกจะยอมกินนมจากขวด ไม่ว่าจะเป็น คุณพ่อ คุณย่า คุณยาย หรือพี่เลี้ยง
นอกจากนี้ หลังจากที่ลูกยอมดูดนมจากขวดแล้ว ในช่วงที่คุณแม่มีวันหยุดยาว ๆ ควรให้ลูกได้กินนมแม่จากขวด และสลับมาเข้าเต้าเป็นบางมื้อ ไม่ควรให้ลูกดูดจากเต้าทุกมื้อ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่กลับมาติดเต้าอีก
และหากใช้วิธีฝึกลูกดูดขวดตามวิธีข้างต้นแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผล ให้ลองใช้วิธี ป้อนนมด้วยหลอด หรือจากแก้วดู

วิธีแก้ปัญหาลูกติดเต้า



วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ภาษาเด็กเล็ก เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย

ภาษาเด็กเล็ก เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย

ภาษาเด็กเล็ก หรือ Baby Talks หรือ infant-directed speech คือการพูดของผู้ใหญ่ที่ใช้กับเด็กเล็ก ที่มีเสียงเล็กเสียงน้อย ท่าทาง และจังหวะที่แตกต่างจากการพูดกับเด็กโตและคนทั่วไป
ภาษาเด็กเล็ก จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างจากภาษาทั่วไป ใช้โทนเสียงสูงกว่าปกติและน้ำเสียงสูงต่ำ มีการพูดซ้ำหลายๆครั้ง เน้นย้ำบางคำ และจังหวะที่ช้า พร้อมกับใช้สีหน้าท่าทางประกอบการพูด


เสียง "เอะลูกจะอ้าปากกว้างและปล่อยลมร้องเสียงออกมาคล้ายเสียงสระแอในภาษาไทย บอกถึงอาการที่ลูกน้อยมีลมในท้อง เป็นเสียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างวันได้เรื่อย ๆ ไม่ใช่เฉพาะแค่หลังทานนมเท่านั้น เมื่อลูกส่งเสียงร้องแบบนี้ให้คุณแม่ทำให้ลูกเรอ
ลักษณะของเสียง อึนเนะ ลูกจะร้องออกมาเหมือนเสียงขึ้นจมูกนิดหน่อยร่วมกับเสียงของการดูดตรงเพดานปาก หมายความว่า หนูหิว หนูอยากกินนมแม่แล้วนะ ดังนั้นอุ้มเจ้าตัวน้อยขึ้นมากอดเพื่อให้นมกินได้เลย
มื่อได้ยินลูกร้อง “อาว” ออกมา นี่นก็หมายความว่าทารกน้อยกำลังง่วงนอนแล้วล่ะ ลูกจะออกเสียงอาวด้วยลักษณะอ้าปากและห่อปากลงเหมือนการดูดงับเอาออกซิเจนเข้าไปในปากคล้ายกับการหาว เมื่อลูกร้องเสียงแบบนี้คุณแม่พาลูกเข้านอนได้เลย
ภาษาอ้อแอ้ เพื่อทำความเข้าใจภาษาอ้อแอ้ของเด็กทารก ก่อนอื่นคุณต้องตั้งใจฟังโทนเสียงและคำที่เด็กใช้ เพราะโทนเสียงและ “คำ” เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถระบุเจตนาและอารมณ์ของเด็ก
นี่เป็นข่าวดีสำหรับครอบครัวที่ใช้หลายภาษา เพราะแต่ละภาษาก็มีโทนเสียงที่แตกต่างกันออกไป เด็ก ๆ ก็เหมือนฟองน้ำที่พร้อมจะซึมซับทุกอย่างที่พวกเขาได้ยินและมองเห็น

ภาษาอ้อแอ้” ในที่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เด็กที่ได้ยินเป็นปกติเท่านั้น เด็กทารกที่หูหนวกที่ “ฟัง” จากภาษามือ ก็สามารถสื่อสารภาษาอ้อแอ้ผ่านการเคลื่อนไหวเช่นกัน

เด็กที่ใช้คำพูดอาจพยายามออกเสียงคำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่เด็กที่ใช้น้ำเสียงอาจพยายามเล่นกับเสียงสูงต่ำของคำมากกว่า และจะเปลี่ยนไปพูดคำอื่นต่อเมื่อพอใจกับเสียงของคำที่หัดพูดก่อนหน้าเท่านั้น เด็กประเภทหลังนี้มักใช้เวลากับการออกเสียงพยางค์เดิมซ้ำ ๆ แต่โดยปกติเด็กทั้งสองประเภทจะมีพัฒนาการด้านภาษาไม่ต่างกัน

ภาษาของเด็กทารกถือเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง หากเราสังเกตปฏิกิริยาของผู้ปกครองต่อเสียงของทารกอย่างละเอียด เราจะพบว่าเด็กสามารถทำให้ผู้ปกครองเข้าใจพวกเขาได้ก่อนที่เขาจะเข้าใจผู้ปกครองเสียอีก

การอ่านหนังสือกับเด็ก การสอนร้องเพลง และ Learning by doing เพื่อให้เด็กเกิดการเลียนแบบ ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ
แต่ที่สำคัญ คือ พ่อแม่ต้องใช้เวลาพูดคุยสื่อสารโต้ตอบกับเด็กให้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากการเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกันหรือสมาชิกในครอบครัว


เพลงกล่อมลูก ฉลาด แรกเกิด - เด็กโต ช่วยการนอน เพิ่มความจำ เสริมพัฒนาการ